โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

Last updated: 26 พ.ค. 2565  |  7949 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ


  hypertrophic obstructive cardiomyopathy เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ไม่สามารถปั๊มเลือดไปสู่หัวใจได้ปกติ บางครั้งมีอาการการเต้นจังหวะหัวใจผิดปกติได้  จะมีอาการเมื่อเกิดการสร้างกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาตัวผิดปกติ โดยเฉพาะ หัวใจห้องล่างซ้ายทำให้ห้องเล็กลง ทำให้มีปัญหาการบีบตัวส่งเลือด  ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ แน่นหน้าอก เป็นลม หายใจเหนื่อย อาจถึงเสียชีวิตกระทันหันได้ มีผลกับทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

สาเหตุ 
  สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เมื่อหนึ่งคนในครอบครัวได้รับการวินิจฉัย คนในครอบครัวจำเป็นต้องสืบหาว่ามีความผิดปกติหรือไม่  สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบในผู้ใหญ่คือ ปล่อยให้มีความดันโลหิตสูงนาน ๆ

อาการ
  หายใจเร็วเหนื่อยเมื่อลุกเดิน ทำงานบ้าน หรือขณะออกแรงอื่น ๆ แน่นหน้าอก เป็นลมหลังออกกำลังกาย หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือเต้นเร็ว บางคนไม่มีอาการ บางคนสามารถหัวใจวายเฉียบพลันได้

การวินิจฉัย 
จากการซักประวัติตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอด คลื่นไฟฟ้า EKG ทำ Echo เพื่อดูรูปร่างลักษณะของหัวใจ หรือการตรวจอื่น ๆ เช่น การติดตามบันทึกการเต้นหัวใจ24.ชม. การตรวจเลือด การตรวจระดับยีนส์ การตรวจ MRI

การรักษา

  การรักษาควบคุมอาการ ลดการบีบตัวของหัวใจเวนทริเคิล อาการ หัวใจล้มเหลว และเต้นผิดปกติควรรักษา  การควบคุมอัตราการเต้นและการหดรัดตัว ยาเหล่านี้เช่น beta blocker (propranolol) CCB (verapamil ) ซึ่ง pacemaker /defib /cardiovert เป็นตัวเลือกในการควบคุมการเต้นของหัวใจ เป็นอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่ใส่เข้าไปในกล้ามเนื้อหัวใจ และลดการอุดตันของเลือด การเปลี่ยนถ่ายหัวใจ ทำเมื่อไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ



    สิ่งที่ควรทำ

ควรกินยาตามแพทย์สั่ง

ควรบอกแพทย์หากมีอาการแย่ลงหรือการรักษาไม่ดีขึ้น

ควรทราบว่าคนในครอบครัวควรเช็คอาการด้วย

   ห้ามทำ

ห้ามเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายเองโดยไม่ถามแพทย์

 ห้ามซื้อยาต้มยาหม้อหรือยาทั่วไปกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

 ห้ามกินเหล้าสูบบุหรี่ ไม่ควรกินยาขับปัสสาวะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้