ลิ้นหัวใจเอออตาร์ตีบ

Last updated: 31 ม.ค. 2565  |  1474 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลิ้นหัวใจเอออตาร์ตีบ

ลิ้นหัวใจเอออตาร์ตีบ


  aortic stenosis การตีบลิ้นหัวใจเอออตาร์ เป็นลิ้นที่ผ่านช่องทางนำเลือดที่มีออกซิเจนไปสู่ร่างกาย อาการตีบของลิ้นเอออตาร์ตีบส่งผลให้หัวใจโต มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

สาเหตุ 
  แคลเซียมและคลอเลสเตอรอลสะสมที่ลิ้นหัวใจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ บางคนเกิดขึ้นกับลิ้นไบคัสปิดหรือ ไข้รูมาติกในเด็กซึ่งทำลายลิ้นหัวใจด้วยเช่นกัน

อาการ
  ตอนแรกไม่มีอาการ หากตีบมากขึ้น จะรู้สึกเหนื่อย เป็นลมเมื่อออกกำลังกายหนัก แน่นหน้าอกตอนออกแรงหรือขณะพักและมีอาการหัวใจล้มเหลว หายใจเร็ว นอนราบไม่ได้ ตื่นขึ้นมาหอบเหนื่อยกลางคืน

การวินิจฉัย 
จากซักประวัติตรวจร่างกาย ได้ยินเสียงลิ้นหัวใจรั่ว หากสงสัยมีลิ้นหัวใจตีบ แพทย์แนะนำให้ทำEcho และขึ้นอยู่กับความรุนแรง บางคนต้องใส่สายสวนหรือเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจ

การรักษา

  หากตีบน้อย ๆ จะไม่มีอาการ ควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หากเป็นรุนแรงควรเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจ  หรือการทำ valvuloplasty  เกิดการเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจ



    สิ่งที่ควรทำ

ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการออกกำลังกาย

ควรเลิกสูบบุหรี่

ควรกินอาหารโซเดียมต่ำและลดน้ำหนัก

ควรรีบพบแพทย์หากมีอาการเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจใหม่แล้วมีอาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ ใจสั่น เป็นลม อ่อนแรงแขนขา

   ห้ามทำ

ห้ามให้ตัวเองขาดน้ำ

 ห้ามกินยาเอง

 ห้ามละเลยอาการที่ผิดปกติ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้