Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 2898 จำนวนผู้เข้าชม |
คีย์รอยด์ (keloids)
เป็นแผลเป็นที่เกิดจากเนื้อเยื่อสร้างใหม่มากกว่าปกติ สามารถเกิดทุกทีในร่างกายเมื่อได้รับบาดเจ็บ เช่น แผลไฟลวก สิวขนาดใหญ่ รอยขีดข่วน
สาเหตุ
เกิดจากการสร้างเนื้อเยื่อมากเกินไปเมื่อแผลกำลังสมาน ไม่มีใครทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด ไม่ใช่สิ่งติดต่อกันได้และไม่ใช่เนื้อเยื่อที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ คีรอยด์เกิดได้กับทุกคนทุกสภาพผิว
อาการ
คีรอยด์จะมีวัฒนาการเป็นก้อนสีชมพูนูนขึ้นมาอาจจะสีดำหรือแดงก็ได้เกิดเป็นแผลเป็นจากแผลที่เกิดบนผิวหนัง หรืออาจจะเริ่มจากแผลเล็กๆเช่นแผลเจาะหู เนื้อเยอะจะเพิ่มขนาดขึ้นแต่สีจะซีดลง คีรอยด์จะต่างจากการที่เนื้อเยื่อแผลเป็นที่สร้างตัวมากเกินไป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อนไม่สม่ำเสมอ และแดง และไม่ได้เกิดจากรอยสมานแผลซึ่งจะมีขนาดเล็กลงได้และซีดลง ทั้งเนื้อเยื่อแผลเป็นและ คีรอยด์ ไม่เจ็บแต่คัน ถ้าเกิดที่ตรงบริเวณที่ข้อพับอาจจะลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกาย
การวินิจฉัย
ดูลักษณะแผลเป็นของผู้ป่วย
การรักษา
ไม่มีการรักษาที่ได้ผลเท่าไหร่นักสำหรับ คีรอยด์ ป้องกันไม่เกิดจะดีกว่า หลีกเลี่ยงการเจาะ สัก หรือการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น การรักษามีหลากหลายแตกต่างกันไป บางคนก็หายบางคนก็อาจจะกลับมาเป็นอีกในที่เดิม การรักษาอย่างเช่น ผ่าตัด ฉีด เสตียรอยด์ ฟีสให้แข็ง หรือเลเซอร์ ซึ่งการผ่าตัดไม่ค่อยได้ผลดีนักบางทีกลับมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ฉีดสเตียรอยด์ทำให้คีรอยด์เล็กลง ฟีสซิ่งคือทำให้คีรอยด์แฟบตัวลง เลเซอร์ทำbbให้คีรอยด์จางลงและแฟบลง วิธีใหม่รวมถึงการให้ยาคีโม interferonครีม immiquimod retinoic acid tacrolimus ยาเหล่านี้บางทีก็ประสบความสำเร็จในการรักษา
สิ่งที่ควรทำ
ควรหาสิ่งปกปิด คีรอยด์หากรู้สึกว่ามีผลต่อชีวิตประจำวัน
ควรใช้ชีวิตปกติ แข็งแรง ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับ คีรอยด์
ควรรีบปรึกษาแพทย์หากพบสัญญาณว่าจะเกิด คีรอยด์
สิ่งที่ไม่ควรทำ
ไม่ควร เจาะ สัก หรือผ่าตัดใดๆโดยไม่จำเป็น หากคุณเคยเป็น คีรอยด์ มาก่อน
12 มิ.ย. 2566
19 ก.ค. 2566
16 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566