Last updated: 6 ส.ค. 2567 | 10044 จำนวนผู้เข้าชม |
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานทำได้โดย
ทำโดยงายเพียง การกดหน้าอกเพื่อดันเลือดและออกซิเจนให้ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญโดยเฉพาะสมองและหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การช่วยชิวิตมี คุณภาพที่ดีขึ้น จึงได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติได้ง่าย และเพิ่มประสิทธิถาพการดูแลผู้ป่วย โดยแบ่งแนวนางการช่วยขั้นพื้นฐาน ตามความสามารถของผู้ช่วยเหลือเป็นดังนี้
1. แนวทางสำหรับประชาชน ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการกดหน้าอกเป็นหลัก
2. แนวทางสำหรับประชาชนที่ได้รับการฝึกทักษะเพิ่มเติมทักาะการช่วยหายใจละการใช้เครื่องช็อกไวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
3. แนวทางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเพิ่มเติมทักาที่บุคลากรทางการแพทย์มี เช่น การคลำชีพจร การใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ เป็นต้น
ในระดับโลก จึงมีระบบการช่วยชีวิตฉุกเฉินสำหรับ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นแนวทางการช่วยชีวิต ซึ่งล่าสุดได้กำนดเมื่อปี 2015 โดยแบ่งผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล (In-hospital cardiac arrest; IHCAs)และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล(Out-of-hospital cardiac arrest; OHCAs) โดยเน้นจุดสำคัญดังนี้
1. ระบบการดูแลที่เป็นสากล(Structure-Precess-System-Outcome) ระบบการบริการแพทยืจำเป็นต้องมีการผสมผสารระหว่างโครงสร้าง(บุคลากร การให้ความรู้และอุปกรณ์) กระบวนการ(Protocals นโยบายและขั้นตอน) ระบบการดูแล(การกำหนดแผนงานการจัดการองค์กรและวัฒนธรรมองค์กร) นำไปสู่ผลลัพธ์ของคนไทย ได้แก่ ความปลอดภัย คุณภาพ และความพึงพอใจ ระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยองค์ประกอบดังข้างต้นได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการ ระบบการดูแล และผลการดูแลรักษา โดยมีระบบการประเมินและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. การแยกการดูแลผู้ป่วยออกเป็นสองแบบตามสถานที่ ได้แก่ ระบบการดูแลสำหรับในโรงพยาบาล และการดูแลสำหรับผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลต้องให้ความใส่ใจในระดับชุมชนเป็นพิเศษเพราะโดยทั่วไปแล้ว การเข้าไปช่วยเหลือโดยทีมฉุกเฉินทางการแพทย์มักจะไม่ทันการ(เร็วที่สุดตาม ที่กำหนดไว้ คือภายใน 10 นาที) แต่ในกรณีที่หัวใจหยุดเต้นควรได้รับการช่วยเหลือเพียงใน 3-5 นาที หากช้ากว่านี้โอกาสรอดชีวิตจะลดลง จาก 70% เหลือน้อยกว่า 20% ดังนั้นจะต้องพึ่งชุมชนและคนในชุมชนที่มีความตระหนักถึงการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จึงจะช่วยเหลือได้ทันท่วงที รวมไปถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจที่มีในที่สาธารณะ(Public-Access Defibrillation ;PAD) จนกระทั่งทีมฉุกเฉินผู้ให้การรักษาจากระบบการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS)เข้าให้การช่วยเหลือและนำส่งผุ้ป่วยไปยังโรงพยาบาล เพือให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาได้ต่อไป
3. มีการทบทวนดูหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุด ว่ามีวิธีการทบทวนเรื่องระบบการดูแลอย่างไร โดยเน้นเรื่องภาวะหัวใจหยุดต้น
โครงการสอนปั๊มหัวใจและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในชุมชน สำหรับผุ้ช่วยเหลือที่เป็นประชาชนทั่วไป (Community Lay Rescuer AED Programs)
ปัจจุบันตามแนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพปี 2015 แนะนำให้มีโครงการสอนปั้มหัวใจและติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติให้ใช้ได้มากขึ้นในที่สาธารณะ เพื่อเพื่อความ สามารถของผู้ช่วยเหลือที่เป็นประชนทั่วไปในชุมชนเข้าถึงและการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Public Access Defibrillation; PAD programs) สำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เกิดในสถานที่สาธารณะ โดยมุ่งไปที่สถานที่ อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มีผู้พบเห็น (witnessed cardiac arrest) เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ ลานกีฬา สถานีขนส่ง อบต. อบจ. เทศบาล ฯลฯ
มีหลักฐานชัดเจนและสอดคล้องว่ามีผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้นจากภาวะหัวใจหยุดเต้น หากผู้ประสบเหตุทำการช่วยฟื้นคืนชีพและใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเข้าถึงเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมิตได้ทันทีจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการดูแลผู้ป่วย การนำ PAD Programs มาใช้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลัก 4 ข้อ ได้แก่
1) การตอบสนองอย่างมีแบบแผนและการฝึกปฏิบัติ ซึ่งตามหลักการแล้วจะรวมถึงการระบุตำแหน่งและบริวณใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น การติตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในบริเวณเหล่านั้นและมีการแจ้งหรือประกาศเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประสบเหตุสามารถทราบได้ว่ามีเครื่องอยู่ที่ใด และมีบุคลากรทางการแพทย์ให้การสนับสนุนดูแลอยู่อีกขั้นหนึ่งด้วย
2) มีการฝึกฝนให้อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำการช่วยฟื้นคืนชีพ และสามารถใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติได้
3) มีการเชื่องโยงการให้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ในการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นระบบนั้นยังรวมไปถึงนโยบายของชุมชนในการสนับสนุนการส่งต่อข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมิตที่มีในชุมชนให้กับ Public Service Access Points (PSAPs; เป็นศัพท์ที่มีขึ้นมาใหม่แทนที่ศูนย์สั่งการระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS dispatch center)เป็นจุดเชื่อมต่อของชมชนในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ)โดยที่ PSAPs สามารถนำทางผุ้ประสบเหตุให้เข้าถึงเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติที่อยู่ใกล้ที่สุดได้และช่วยให้คำแนะนำการใช้งานได้ เมื่อใดก็ตจามที่มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเกิดขึ้นในท้องถิ่นหลายที่ หลายจังหวัด หรือในระดับประเทศ ออกกฏหมายให้มีการติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในอาคารที่ทำงานของภาครัฐ สถานที่สาธารณะขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน คาสิโน โรงเรียน เนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้นอนกโรงพยาบาล 20% เกิดขึ้นในที่สาธารณะ โครงการในชุมชนเหล่านี้จึงเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญของห่วงซ่แห่งการรอดีวิต ระห่ว่างการตระหนักถึงภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกับการขอความช่วยเหลือจาก PSAPs
โดยปัจจุบันี้ยังมีการสนับสนุนให้มีการติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติไว้ที่บ้าน แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลสามารถเกิดขึ้นในที่ส่วนบุคคลที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการกดหน้าอกน้อยกว่าผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นในที่สาธารณะ การให้คำแนะนำการกู้ชีพขณะเกิดเหตุ(real-time instructions) โดยเจ้าหน้าที่รับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉิน(emergency dispatchers) อาจช่วยให้ผู้ช่วยเหลือที่ได้รับการเรียนการสอนและมีฝึกปฏิบัติอยู่ในบ้านให้เริ่มทำการช่วยเหลือได้ เมื่อผสมผสารการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับคนในชุมชน ร่วมกับการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพจากทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้
ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต : สิ่งสำคัญต่อการรอดชีวิตของคนไทย
การช่วยชีวิตผู้ป่วยมีขั้นตอนสำคัญ ถ้าปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ โดยมีขึ้นตอนสำคัญดังนี้
1. การปลุกผู้หมดสติ พร้อมกับขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
2. การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
4. ทีมการแพทย์ฉุกเฉินเข้าไปรับช่วงต่อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5. การช่วยชีวิตขั้นสูงต่อและดูแลภาวะหัวใจหยุดเต้นที่ โรงพยาบาล
2 ก.พ. 2564
2 ก.พ. 2564
2 ก.พ. 2564
2 ก.พ. 2564