เบาหวานในคนท้อง Gestational Diabetes

Last updated: 22 พ.ย. 2564  |  3712 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เบาหวานในคนท้อง Gestational Diabetes

เบาหวานในคนท้อง Gestational Diabetes


           โรคเบาหวานคือสภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าค่าปกติ  เบาหวานในคนท้องคือตรวจพบโรคเบาหวานครั้งแรกเมื่อตั้งครรภ์และโรคยหายไปหลังจากคลอด บางคนเกิดภาวะเบาหวานหลังคลอดบุตร โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์นี้เกิดขึ้น 1ใน 20 ของหญิงตั้งครรภ์ซึงมีผลต่อทารกในครรภ์ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์(จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด) คลอดมีปัญหาเช่นไหล่ติดการหายใจของทารกมีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ ลงหลังคลอด มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือเบาหวานในอนาคต สำหรับหญิงที่เกิดเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อาจจะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้

สาเหตุ 
      ยังไม่มีอาการอะไรที่บอกชัดเจน หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย  หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เช่น ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานแล้วมีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักตัวมาก หรืออายุมากกว่า35ปี หรือมีประวัติคลอดเด็กตัวใหญ่ หรือเด็กมีความพิการของอวัยวะ หรือตายคลอด
 
อาการ
    ยังไม่มีอาการอะไรที่บอกชัดเจน หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย  หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เช่น ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานแล้วมีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักตัวมาก หรืออายุมากกว่า35ปี หรือมีประวัติคลอดเด็กตัวใหญ่ หรือเด็กมีความพิการของอวัยวะ หรือตายคลอด

การวินิจฉัย 
    การวินิจฉัยยากที่จะใช้อาการในการสรุปผล ดังนั้น ควรตรวจระดับน้ำตาลขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงที่มีความเสี่ยงสูง หากผลตรวจน้ำตาลขึ้นสูง แพทญ์จะเช็คระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้นขณะที่ตั้งครรภ์อยู่

การรักษา 
      เป้าหมายในการรักษาคือการที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายเบาๆ ตรวจวัดน้ำตาลสม่ำเสมอ รวมถึงการฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่ง


    สิ่งที่ควรทำ
ควรทำตามที่แพทย์แนะนำเกี่ยวกับการตรวจวัดน้ำตาลเพราะสำคัญหลังจากคลอด
ควรฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่ง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง เช่น เค้ก บิสกิต น้ำหวาน
ควรจำกัดการกินขนมปัง พาสต้า ข้าว มันฝรั่ง หรือกินผลไม้มากๆ
ควรออกกำลังกายเบาๆสม่ำเสมอเช่นการเดิน

 ควรพกลูกอมติดไว้เมื่ออฉีดอินซูลิน ให้กินทันทีหากมีอาการมึนหัว เหนื่อย จะเป็นลม

 ควรทราบว่าอาการเบาหวานยขณะตั้งครรภ์หายได้หลังคลอด

ห้ามทำ
ห้ามกินอาหารไขมันสูงเช่น เนย ครีม ไขมันสัตว์ เบอเกอร์ ไส้กรอก
 ห้ามกินอาหารทอดหรือผัดเปลี่ยนไปกินต้มนึ่ง
 ห้ามงดอาหารหากรู้สึกหิว

 ห้ามออกกำลังกายเหนื่อยเกินไป ให้หยุดทันทีหากเหนื่อย หรือจะวูบ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้